Friday, April 26, 2013

อ่านเขียน Harddisk Windows Step by Step ฉบับ จับมือทำ

 วันนี้เราเอาปัญหามาคุยกันอีกแล้วนะครับ 

คือ ผู้ใช้แมคหน้าใหม่ทั้งหลายนะครับ ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ที่เคยใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows มาก่อน ไม่ว่าจะเป็น XP, Vista, 7 แน่นอนว่าส่วนใหญ่ก็ต้องมีข้อมูลเดิมที่เคยใช้งานกับ Windows และเมื่อเปลี่ยนมาใช้ Mac ก็ต้องการนำข้อมูลเดิมเนี่ยมาใช้งานบน Mac ด้วย


เช่นผมเนี่ย มี External Harddisk อยู่ก้อนนึง เก็บงานจาก Windows ไว้เต็มเลย ทีนี้ผมซื้อเครื่อง Mac มาใช้ ผมก็เห็นว่ามันมีพอร์ต USB อยู่บนเครื่อง Mac ผมก็จัดการเสียบ External Harddisk จาก Windows ของผมเนี่ยแหละ เข้าไปที่เครื่อง Mac ของผม 


มันเปิดได้แฮะ ผมสามารถเปิดงาน Word ผ่าน Microsoft Office 2011 บนแมค แล้วพิมพ์งานต่อได้เลย


แต่... พอจะเซฟงานเท่านั้นแหละ มันบอกว่า เซฟไม่ได้


ลองเซฟงานไว้บน Desktop ก่อนก็ได้แล้วค่อยลากมันไปเก็บใน Harddisk ก็ทำไม่ได้ 


พอจะลองสร้าง Folder บน Harddisk ก็ทำไม่ได้ T_T




เอาไงละทีนี้... งานก็รีบๆ อยู่



อธิบายก่อนว่า เหตุไฉนแมคถึงเซฟงานลง External Harddisk ที่เราเคยใช้งานได้กับ Windows ไม่ได้


เพราะว่ามันใช้ Format ของ Harddisk คนละตัวกันกับ Windows ครับ 


อย่าง Harddisk ที่เราใช้กับ Windows มันจะถูก Format เป็น NTFS


ส่วนของแมคจะถูก Format เป็น HFS+ ครับ


ซึ่งบางคนก็จะแก้ปัญหานี้โดยการ Format Harddisk เป็น FAT32 ซึ่งก็สามารถแก้ปัญหาได้ระดับนึง เพราะ Mac สามารถอ่านและเขียน Format แบบ FAT32 ได้ครับ


แต่จะมีปัญหาอีกนิดหน่อยตรงที่ Format แบบ FAT32 จะรองรับไฟล์ขนาดใหญ่เกิน  4GB ไม่ได้ ต่างกับ NTFS และ HFS+ ที่สามารถเก็บไฟล์ขนาดใหญ่ๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา


ง่ายๆ ก็เราเก็บหนังแบบ Full HD ที่ขนาดไฟล์ใหญ่ๆ ไม่ได้ละครับ เพราะหนังแบบ Full HD ส่วนใหญ่ก็ขนาดเป็น 10 GB ขึ้นไปแล้วละครับ


ทางแก้ก็ ไม่ต้องทำอะไรกับ Harddisk ตัวนี้ แต่ลงโปรแกรมเพิ่มบนแมค ให้แมคเราสามารถ อ่านเขียน Format แบบ NTFS ได้ซะก็หมดเรื่อง


เรามาดูวิธีทำกันครับ



สิ่งที่ต้องมี

1. OSXFUSE เวอร์ชั่นล่าสุด (ขณะนี้ 27 เม.ย. เวอร์ชั่นล่าสุดคือ 2.5.5) ดาวน์โหลด OSXFUSE



2. NTFS-3G For Mac OS X 2010.10.2 ดาวน์โหลด NTFS-3G



3. fuse_wait-1.1 ดาวน์โหลด fuse-wait




ขั้นตอนการติดตั้ง


เมื่อได้ส่วนประกอบทั้งหมดพร้อมแล้วก็เริ่มด้วยการติดตั้ง OSXFUSE ก่อน



ดับเบิ้ลคลิกที่ osxfuse-2.5.5.dmg


ดับเบิ้ลคลิกที่ Install OSXFUSE 2.5


คลิกที่ Continue


Continue ต่อ


คลิกที่ Agree


อันนี้สำคัญให้เลือกที่ MacFUSE Compatibility Layer ด้วย เผื่อใครเคยลงเวอร์ชั่นเก่าไว้ ตัว OSXFUSE จะช่วยลบของเก่าให้เรา เพราะถ้ามีเวอร์ชั่นเก่าอยู่มันจะใช้งานไม่ได้ เสร็จแล้ว Continue


คลิกที่ Install เพื่อเริ่มติดตั้ง


ใส่พาสเวิร์ดของเราด้วยครับ (พาสเวิร์ดเวลาเรา Log In เข้าใช้งานเครื่อง Mac ของเรานะครับ) ถ้าใครไม่เคยมีพาสเวิร์ดก็ปล่อยว่าง แล้วคลิกที่ Install Software ได้เลยครับ


เสร็จไปหนึ่ง คลิกที่ Close ได้เลยครับ

ส่วนผสมถัดไปก็คือ NTFS-3G



ดับเบิลคลิกที่ ntfs-3g-2010.10.2-macosx.dmg ครับ


ตัวติดตั้งมันจะบอกว่ามันจะต้องปิดแล้วเปิดใหม่เพื่อเริ่มติดตั้ง เราก็คลิก OK


เมื่อตัวติดตั้งมันเปิดขึ้นมาใหม่ก็คลิก Continue ได้เลยครับ


Continue ต่อเลยครับ


Continue อีกครั้ง


Agree


คลิกที่ Customize อย่าพึ่งคลิก Install นะครับ



หลังจากคลิก  Customize จะเจอหน้านี้ให้เอาเครื่องหมายถูกที่ MacFUSE ออกก่อน แล้วคลิกที่ Install ครับ
ใส่พาสเวิร์ด


ตรงนี้ให้เลือก UBLIO caching ครับ เพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่าในการอ่านเขียนข้อมูล แต่ถ้าเราเป็นประเภทที่ชอบถอดเสียบ External Harddisk แบบไม่ได้ Eject ก็ให้เลือก No caching นะครับ เพราะมันจะป้องกันการสูญหายของข้อมูลได้ดีกว่า แต่ความเร็วการอ่านเขียนข้อมูลจะช้ากว่า UBLIO caching ครับ ส่วนแบบ UBLIO caching อ่านเขียนเร็วกว่า แต่เวลาถอด Harddisk ต้องทำการ Eject ทุกครั้งนะครับ ถ้าไม่ Eject อาจจะเจอปัญหาข้อมูลไปไม่ครบก็ได้ 


Continue ได้เลยครับ


เสร็จแล้วก็ Restart หนึ่งครั้ง


หลังจากเครื่องแมคเราทำการ Restart เสร็จเรียบร้อย ถ้าเกิดใครเสียบ External Harddisk แบบ NTFS  ไว้จะเจอหน้าคำเตือนแบบนี้ครับ ให้ปิดไปก่อน แล้วมาติดตั้งส่วนผสมตัวสุดท้ายครับ

 ส่วนผสมสุดท้าย fuse-wait


ดับเบิลคลิกที่ fuse_wait-1.1.pkg ครับ


คลิกที่ Continue


Continue ไปเรื่อย


Agree ก่อน


อันนี้ไม่มีอะไรมากครับ Install เลยครับ
ใส่พาสเวิร์ด


เรียบร้อยสามารถใช้งานได้แล้วครับ


แต่ถ้าใครติดปัญหานี้


อันนี้แสดงว่าคุณยังไม่ได้อนุญาตให้แอปพลิเคชั่นอื่นที่ไม่ได้สร้างจาก Apple เอง หรือผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ได้รับการรับรองจาก Apple สามารถติดตั้งลงบนเครื่องของคุณได้ครับ
ให้เข้าไปที่เมนูลูก Apple ด้านบนมุมจอครับ แล้วไปที่ System Preference...



หรือจาก Dock เลือก System Preferences

เลือก Security & Privacy

จะเจอหน้านี้ก็ให้คลิกที่แม่กุญแจด้านล่างก่อน เพื่อปลดล๊อกการตั้งค่า

ใส่พาสเวิร์ด

ให้เลือกที่ Anywhere ครับ

ยืนยันโดยการคลิกที่ Allow From Anywhere

เสร็จแล้วคลิกที่แม่กุญแจอีกครั้งเพื่อล๊อกการตั้งค่าไม่ให้คนอื่นมาเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าของเราครับ


ผลหลังการติดตั้งเสร็จแล้ว

สามารถคลิกขวาแล้วสร้าง New Folder ได้แล้วครับ


หมดไปอีกปัญหาสำหรับผู้ใช้ Mac หน้าใหม่นะครับ

ใครมีคำถามสามารถคอมเมนท์ฝากไว้ได้นะครับ แล้วจะนำวิธีการแก้ปัญหามาบอกกล่าวกันครับ


สวัสดีครับ

55 comments:

  1. การกระทำดังกล่าวไม่ทราบว่าการถ่ายโอนข้อมูล หรือที่เคยทดลองใช้มา มีข้อมูลเสีย หรือเออเรอร์ระหว่างถ่ายโอนมั้ยครับ คือ มันเสถียรมั้ยครับ

    จะได้นำมาใช้ลองบ้าง ผมเคยใช้ NTFS 3G แต่กับโปรแกรมอื่นๆ วุ่ยวายจากเน็ต ลงสำเร็วแล้ว แต่ก็เจอปัญหาก็อปไฟล์ค้าง หรือไฟล์เสียบ้างในบางครั้งครับ

    ReplyDelete
  2. โดยส่วนตัวยังไม่เคยเจอปัญหาอะไรนะครับ

    ReplyDelete
  3. มีประโยชน์ มากๆเลยครับ ขอบคุณมากๆจากใจเลยครับ

    ReplyDelete
  4. ทำเสร็จทุกขั้นตอนแล้วคะ แต่พอเสียบ my passport มันขึ้น error คะ เปิดเข้าไปไม่ได้เลย ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะอะไรคะ TT รบกวนตอบด้วยนะคะ หรือ เมลมาที่ minniemaa@hotmail.com จะ Capture หน้าจอที่ขึ้น error ให้ดูคะ ขอบคุณคะ

    ReplyDelete
  5. ส่งภาพหน้าจอมาให้ดูหน่อยครับ ส่งมาที่ chirawoot แอท gmail.com นะครับ

    ReplyDelete
  6. พอกด install ntfs 3g มันไม่ให้ install อะคะ บอกว่าInstall NTFS-3G” can’t be opened because it is from an unidentified developer.

    ReplyDelete
    Replies
    1. System Preferences

      เลือก Security & Privacy

      จะเจอหน้านี้ก็ให้คลิกที่แม่กุญแจด้านล่างก่อน เพื่อปลดล๊อกการตั้งค่า

      ใส่พาสเวิร์ด

      ให้เลือกที่ Anywhere ครับ

      ยืนยันโดยการคลิกที่ Allow From Anywhere

      Delete
  7. ขอบคุณมากครับ สามารถสร้าง Folder ใน WD External ตอนเล่นใน MAC Book ได้แล้วครับ

    ReplyDelete
  8. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
  9. ถ้าทำแบบที่บอกจะใช้ได้ทั้ง mac และ window รึป่าวคับ

    ReplyDelete
  10. ได้ทั้งคู่ครับ

    ReplyDelete
  11. ขอ "ขอบคุณมาก" ด้วยความจริงใจครับ :) ให้ +10 เลย

    ReplyDelete
  12. ขอถาม

    ทำไมไม่ format HDD ให้เป็น ExFAT เพราะทั้ง Mac และ Windows รองรับการอ่านเขียนไฟล์แบบ ExFAT อยู่แล้ว เป็นแบบ native support ในตัว ไม่ต้องพึ่งโปรแกรมอื่นครับ

    ReplyDelete
  13. จริงๆ ถ้าอยากจะฟอร์แมตเป็น exfat ก็ได้ แต่ไม่แนะนำ เพราะเสี่ยงข้อมูลหายสูง ฟอร์แมตเป็น ntfs จะเหมาะสุดสำหรับการใช้งานกับ hard disk

    Exfat ถ้าถอดโดยไม่ eject หรือ safely remove มีสิทธิ์ที่ข้อมูลจะหายเกลี้ยงได้

    ซึ่งตรงนี้ก็รับความเสี่ยงเอาเอง แต่ที่แนะนำ ntfs เพราะมัน safe สุดแล้วจากประสบการณ์ส่วนตัว

    ReplyDelete
  14. ลองทำตามดูแล้วใช้ได้เลยครับ ข้อดีคือ ไม่ต้องลบข้อมูลใน HDD ทิ้ง
    ทำตามขั้นตอน (อธิบายได้ละเอียดดีมากครับ) เยี่ยมมากขอบคุณครับ

    ReplyDelete
  15. เคยทำตามนี้ตั้งแต่ซื้อเครื่องมา ใช้งานมาเกือบครึ่งปีไม่มีปัญหาอะไร จนกระทั่งวันนี้ อยู่ดีๆ Hdd ลูกเดิมที่เคยโอนย้ายข้อมูลได้ปกติ ก็กลายเป็น read only ไปซะอย่างงั้น ไม่ทราบเกิดอะไรขึ้น
    พยายามลบโปรแกรมออก แล้วลงใหม่หมด ก็ไม่หายค่ะ ช่วยด้วย ทำไงดี T_T

    ReplyDelete
    Replies
    1. Harddisk เอาไปใช้กับเครื่องอื่น อ่านเขียนได้ปกติใช่มั้ยครับตอนนี้

      Delete
  16. ผมลงตามข้อมูลข้างบนแล้วปรากฎว่า ไปทำแบบนี้ก็อีกเครื่อง 1 แต่มันไม่โชว์ icon My passport ที่หน้า Destop อะคับ ทำยังไงดี

    ReplyDelete
  17. NTFS-3G นี่จะสามารถอ่านเขียนทั้งในMacและWindowsเลยใช่มั้ยคะ หรืออ่านได้อย่างเดียว

    ReplyDelete
  18. ขอโทษนะครับ ผมลง fuse wait ไม่ได้น่ะครับ ผมใช้ mac os x v.10.6.8 ครับ มันขึ้นว่า Unsupported version of Mac OS X This workaround fixes a timeout warning caused by fuse_wait on OS X 10.7 and later versions of Mac OS X. It cannot be installed on earlier versions of Mac OS X.

    ReplyDelete
    Replies
    1. 10.6.8 ไม่ต้องลง fuse_wait ครับ ลงแค่ OSXFUSE กับ NTFS-3G ก็ใช้งานได้เลยครับ

      Delete
  19. ทำได้คะขอบคุณมาก

    ReplyDelete
  20. ขอบคุณมากนะคะ

    ReplyDelete
  21. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
  22. ขอโทษครับ ผมลง NTFS-3G ไม่ได้ครับ มันขึ้น
    “Install NTFS-3G” can’t be opened because it is from an unidentified developer.

    ReplyDelete
    Replies
    1. ผมก็เป็นเหมือนกันครับ

      Delete
  23. ถ้าลงโปรแกรมสามตัวนั้นไปแล้ว ใช้งานได้ปกติแล้วสมารถลบโปรแกรมนั้นออกจากแมคได้ไหมคะ แล้วถ้าไม่ลบต้องเก็บไว้ที่ไหนของแมคดีคะ ขอบคุณคะ

    ReplyDelete
  24. ขอบคุณมากๆๆนะคะ ใช้ได้คะ สอนละเอียดมากขอบคุณมากคะ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ทำเสร็จใช้ได้เลยไม่ติดอะไรเลย คุณอธิบายละเอียดมากเลยคะ ขอบคุณอีกครั้งนะคะ

      Delete
  25. ขอโทษนะครับ ตอนลง NTFS เหมือนมันจะบอกว่าเวอร์ชั่นนี้ไม่เหมาะกับ mac ผม จะืำยังไงดีครับ

    ReplyDelete
  26. เขียนได้ละเอียด เข้าใจง่ายดีมากคะ ขอบพระคุณนะคะ :)

    ReplyDelete
  27. มันขึ้นแบบนี้ครับ The installation failed The installer encountered an error that caused the installation to fail. Contact the software manufacturer for assistance.

    ReplyDelete
    Replies
    1. เป็นเหมือนผมเลยครับ ไม่รู้จะแก้ยังไง

      Delete
    2. ช่ายๆ เหมือนกันครับ ทำยังไงดี
      Install NTFS-3G เจ้าตัวนี้อะ

      Delete
  28. เจอบอกว่า NTFS เวอร์ชั่นนี้ ไม่เหมาะกับ OX ค่ะ เป็นรุ่นใหม่ เพิ่งซื้อ ธ.ค. 58 ค่ะ...ขอรบกวน หากมีทางแก้ค่ะ

    ReplyDelete
  29. เป็นเหมือนกันครับ ใครมีวิธีแก้บ้างครับ

    ReplyDelete
  30. ขอบคุณมากคะ สุดยอดมากอ่ะ

    ReplyDelete
  31. ทำตามได้ทุกขั้นตอน แต่ก็ไม่สามารถcopyลงได้ค่ะ

    ReplyDelete
  32. ขอบคุณมากค่ะ แต่ลงครบทุกตัวแล้วแต่พอเสียบ my passport icon ไม่ขึ้น แต่ขึ้นว่า
    NTFS-3G could not mount /dev/disk1s1
    at /Volumes/My Passport because the following problem occurred:

    dyld: Library not loaded: /usr/local/lib/libfuse.2.dylib
    Referenced from: /usr/local/bin/ntfs-3g
    Reason: image not found

    ทำอย่างไรต่อได้บ้างค่ะ

    ReplyDelete
  33. ทำแล้ว หน้าวินโด่หายเลย Y__Y

    ReplyDelete
  34. ก็ยังเอาข้อมูลจากแมคลงเมมไม่ได้อยู่ดี Y_Y

    ReplyDelete
  35. ผมลง Install NTFS-3G ไม่สำเร็จคับ มันฟ้องว่า tha installation failed ครับ ต้องทำยังไง?

    ReplyDelete
  36. ตอนแก้ ปลดล๊อก ไม่มีคำว่า Anywhere อะคะ imac เพิ่งซื้อมา เดือนธันวาคม 59
    รบกวนตอบกลับ อีเมลล์ kikumu_pz@hotmail.com

    ReplyDelete
  37. ทำครบแล้วครับแต่พอเสียบ EX-HDD แล้วมันก็ฟ้องขึ้นมาว่า
    "คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไม่สามารถอ่านดิสก์ที่คุณเสียบต่อ"
    ต้องแก้ไขอย่างไรครับ ขอความกรุณาตอบ Chay.ie8.su@gmail.com

    ReplyDelete
    Replies
    1. ยังไม่มีใครตอบเยย

      Delete
  38. ขอบคุณมากค่ะ สุดยอดมากค่ะ

    ReplyDelete
  39. สวัสดีคะ ลงNTFS-3G ในเครื่องไม่ได้นะคะ แต่ลงอีก 2 ตัวเหลือได้หมด
    และตอนนี้สามารถอ่านเขียนในHDได้ มันจะส่งผลไรหรือป่าวคะ

    ReplyDelete
  40. NTFS-3G ไม่รองรับ Sierra
    ทำไงดีล่ะ เหอๆ

    ReplyDelete
  41. ทำตามทุกขั้นตอน รูปจากExternal Harddisk ลงแมคได้คะ แต่แมคลากไปไม่ได้

    ReplyDelete
  42. บทความนี้มีประโยชน์มากค่ะ ขอขอบพระคุณในความตั้งใจและเจตนาของผู้เขียนค่ะ

    ลองดูแล้ว เหมือนว่าเวอร์ชั่นของแมคบุ๊ค 2017 จะไม่สามารถเลือกดาวน์โหลดกับแหล่งที่ไม่ใช่ของแอปเปิ้ลหรือผู้ที่พัฒนาจากแอปเปิ้ลได้ เลยลองโหลดNTFS-3G ของเวอร์ชั่นปี2016เอาคะ ปรากฎว่าฮาร์ดดิสใช้ได้ละคะ แต่....เป็นเวอร์ชั่นที่ฟรีเพียง 15 วัน 555 เดี๋ยวคงต้องรอลุ้นกันต่อไปคะ

    ReplyDelete
  43. อันที่2ทำไม่ได้อ่ะครับ สุดท้ายมันขั้นว่า "The installation failed"
    "theInstaller encountered an error that caused the installation to fail. Contact the software manufacturer for assistance"

    ReplyDelete
  44. Install NTFS-3G ไม่สำเร็จคับ มันฟ้องว่า tha installation failed ครับ ต้องทำยังไง?

    NTFS-3G ไม่รองรับ Sierra

    ReplyDelete
    Replies
    1. เจอปัญหาเดียวกันค่ะ ลง Sierra ไม่ได้
      ตอนนี้ลงได้ยังคะ

      Delete
  45. ขอบคุณสำหรับข้อมูลมาก ๆ นะคะ มีประโยชน์มาก ๆ ค่ะ
    พึ่งซื้อ External Harddisk มาเมื่อวาน ร้านบอกเปิดมาใช้ได้เลย
    สรุปก็รู้สึกว่าเอ๊ะ เหมือนจะเอาอะไรมาใส่ไม่ได้เลย เลยหาข้อมูลดูถึงรู้
    ตอนแรกนึกว่าต้องไปให้ที่ร้านทำให้ซะละ มาเห็นข้อมูลจากเว็ปนี้ เลยลองทำตามดู
    จนถึงขั้นตอนติดตั้ง fuse_wait แล้วติดตั้งไม่ได้ แต่เห็นคอมเม้นของคุณ Nakarin Tangsangob ก่อน
    จึงทราบว่า Mac os x v.10.6.8 ไม่จำเป็นต้องลง fuse_wait ก็สามารถใช้ได้เลย
    ซึ่งก็ลองใช้ดุใช้ได้จริง ๆ แฮปปี้มาก เหมือนได้ของเล่นใหม่ :) คอมเต็มมาสักพักแล้ว
    สบายใจซะที ^^ ขอบคุณสำหรับข้อมูลมาก ๆ นะคะ ขอให้ผลบุญนี้พบเจอแต่สิ่งดี ๆ นะคะ

    ReplyDelete